“รองช้ำ” รักษาได้ด้วย Shockwaves
ในทุกๆวันเรามักจะมีการเดินอยู่เสมอๆ บางท่านเดินเยอะ บางท่านเดินน้อย แต่ผู้คนส่วนใหญ่ก็มักจะเดิน การเดินจะทำให้เราเคลื่อนที่ออกไปทำงานได้ ไปออกสังคม ไปทำกิจกรรมต่างๆ แต่ถ้าหากการเดินของเรานั้นถูกบางอย่างรบกวนล่ะ ประสิทธิภาพการเดินก็คงจะลดน้อยลง ประสิทธิภาพในการไปทำกิจวัตร ประสิทธิภาพในการเข้าสังคมก็จะลดน้อยลงตามไปด้วย เพราะฉะนั้น วันนี้ผมจะกล่าวถึงโรคโรคหนึ่ง ซึ่งเป็นโรคที่เกิดได้กับทุกๆคน เมื่อเดินจะมีอาการเจ็บใต้ฝ่าเท้าจนไม่อยากเดิน โรคนี้เรียกว่าโรค “รองช้ำ” ครับ
ลักษณะทั่วๆไปของโรครองช้ำ
โรครองช้ำเป็นโรคที่พบได้ทั่วไป มักจะพบในบุคคลที่เดินเยอะๆ เดินยาวๆ หรือยืนนานๆ อาการของโรครองช้ำคือ มักจะมีอาการเจ็บที่ใต้ฝ่าเท้าตรงกลางเยื้องๆมาทางส้นเท้า ในช่วงแรกๆมักจะมีอาการเจ็บเมื่อเริ่มยืนหลังจากได้นั่งพักนานๆ เช่น มีอาการเจ็บใต้ฝ่าเท้าเมื่อลงน้ำหนักก้าวแรกหลังตื่นนอน มีอาการเจ็บใต้ฝ่าเท้าเมื่อนั่งพักนานๆแล้วลุกขึ้นยืน
เมื่อเป็นโรครองช้ำไปได้สักระยะหนึ่งอาการจะค่อยๆเป็นมากขึ้นเรื่อยๆจากที่เจ็บแค่ก้าวแรกๆที่ลงน้ำหนัก จะกลายเป็นเจ็บแทบทุกครั้งที่ได้ลงน้ำหนัก เดินก็เจ็บ วิ่งก็ลำบาก จะให้นั่งพักเมื่อมีอาการเจ็บบางท่านก็ไม่สามารถทำได้เนื่องจากว่างานที่ทำต้องยืนต้องเดิน ดังนั้นเมื่อมีอาการแล้วควรรีบรักษาครับอย่าปล่อยไว้นานจนอาการเป็นหนักขึ้นจนต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานานขึ้น
โครงสร้างของเท้าจะเป็นโครงสร้างโค้งๆเหมือนสะพาน มีกล้ามเนื้อและเอ็นทำหน้าที่เหมือนสลิงเสริมความมั่นคง (ดังรูป)
โครงสร้างหลักๆที่มีส่วนในการเกิดโรครองช้ำมีดังนี้ครับ
1. กล้ามเนื้อน่อง (gastrocnemius muscle)
กล้ามเนื้อน่องเป็นกล้ามเนื้อที่มีจุดเกาะปลายอยู่ที่ส้นเท้าหากมีอาการตึงของกล้ามเนื้อน่องจะทำให้เกิดโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรครองช้ำได้
2. ส้นเท้า (calcaneus)
เป็นจุดเกาะของเอ็นกล้ามเนื้อน่องหรือที่เรียกว่า TA tendon และเป็นจุดเกาะของแผ่นพังผืดใต้ฝ่าเท้าหรือที่เรียกว่า plantar fascia
3. แผ่นพังผืดใต้ฝ่าเท้า (plantar fascia)
เป็นแผ่นพังผืดที่เกาะตั้งแต่ส้นเท้าไปถึงนิ้วเท้า เมื่อมีการลงน้ำหนักนานๆ เดินเยอะๆ ใช้งานหนักๆแผ่นพังผืดใต้เท้านี้จะค่อยๆเกิดการฉีกขาดของพังผืด(micro tear) สะสมเรื่อยๆทีละเล็กทีละน้อยจนเป็นอาการอักเสบ และเจ็บในที่สุด
4. ภาวะเท้าแบน (flat foot)
สำหรับคนที่มีภาวะเท้าแบนมีแนวโน้มที่แผ่นพังผืดใต้ฝ่าเท้าจะถูกยืดมากกว่าคนที่มีลักษณะของเท้าปกติ ดังนั้นก็มักจะเกิดปัญหาโรครองช้ำ หรือการอักเสบใต้ฝ่าเท้าได้มากขึ้นตามไปด้วยครับ
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรครองช้ำ
1. น้ำหนักตัวมาก
2. ภาวะเท้าแบน (flat foot)
3. กล้ามเนื้อน่องตึง
4. การเดินเยอะมากกว่าปกติ, การเดินนานและบ่อย
5. พื้นสัมผัสระหว่างเท้าและรองเท้าไม่กระชับ
การรักษารองช้ำด้วย shockwave
การรักษาทางกายภาพบำบัดสำหรับผู้ที่มีอาการของโรครองช้ำ มีหลากหลายวิธีเช่น การประคบร้อนเย็นเพื่อลดอาการชั่วคราว การทำ ultrasound และอื่นๆ
แต่ที่อยากจะแนะนำคือ “shockwave” เนื่องจากว่าเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูง การทำshockwave จะทำที่บริเวณใต้ฝ่าเท้าเพื่อเร่งกระบวนการซ่อมแซ่มของเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บ และในกรณีที่กล้ามเนื้อน่องตึงก็มีความจำเป็นที่จะต้องคลายกล้ามเนื้อน่องร่วมด้วย การรักษาด้วย shockwave ส่วนใหญ่แล้วหลังรักษาจะรู้สึกดีขึ้น หรือรู้สึกว่าอาการลดลงหลังรักษา แต่จะไม่ได้หายภายในทันทีดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนการรักษาร่วมกันระหว่างนักกายภาพบำบัดและผู้เข้ารับการรักษา เพื่อทราบถึงวิธีการรักษา จำนวนวันที่ต้องนัดรักษา รวมถึงแนะวิธีการปฏิบัติตัวและ home program ด้วย
และเนื่องจากว่าโรครองช้ำนี้เป็นโรคที่เกิดจากการบาดเจ็บของแผ่นพังผืดซึ่งมีเลือดมาเลี้ยงน้อยมากเมื่อเทียบกับกล้ามเนื้อประกอบกับในทุกๆวันเรามักจะต้องเดินอยู่เสมอ การหายจากโรครองช้ำจึงต้องอาศัยระยะเวลาพอสมควร แต่หากว่าอาการของโรครองช้ำเป็นไม่มากหรือพึ่งเริ่มเป็นก็จะรักษาหายได้ไวและใช้เวลาไม่นาน ดังนั้นหากมีอาการแล้ว แม้จะเล็กน้อยก็อย่าปล่อยไว้ให้รีบมาปรึกษานักกายภาพบำบัดครับ
หากว่าท่านไม่รู้ว่าจะไปรับการรักษาด้วย shockwave ที่ไหนดี ให้นึกถึง คลินิกกายภาพบำบัด Zenista Health and Wellness เนื่องจากเรามี shockwave ไว้คอยบริการท่านโดยนักกายภาพบำบัดมืออาชีพและมากประสบการณ์ ท่านจึงสามารถวางใจในการรักษาได้ครับ