5 โรคที่ส่งผลต่ออาการปวดหลังส่วนล่าง

5 โรคที่ส่งผลต่ออาการปวดหลังส่วนล่าง

5 โรคที่ส่งผลต่ออาการปวดหลังส่วนล่าง

อาการปวดหลังส่วนล่างเป็นอาการที่ผู้คนส่วนใหญ่มักจะเคยมีประสบการณ์โดยตรง เนื่องจากอาการปวดหลังส่วนล่างนี้เกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ หรืออาจเกิดจากโรคต่าง ๆ ทั้งที่มีความร้ายแรง และไม่ร้ายแรง บทความนี้จะพูดถึงตัวอย่างโรคที่มักก่อให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่างได้


1. หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท ( Herniated nucleus palposus : HNP)

โรคนี้เป็นที่รู้จักทั่วไปในชื่อหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้น โรคนี้เกิดจากส่วนด้านในที่อ่อนนุ่มของหมอนรองกระดูกสันหลังเกิดการฉีกขาดปลิ้นออกมาผ่านชั้นนอก (หมอนรองกระดูกสันหลังมี 2 ชั้น) ทำให้หมอนรองกระดูกชั้นนอกถูกดันให้นูนออกมาและไปชนกับรากประสาทไขสันหลังที่อยู่บริเวณใกล้เคียง ส่งผลทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ การทำกายภาพบำบัดจะเน้นไปที่การทำให้หมอนรองกระดูกที่นูนออกมาค่อย ๆ ไหลกลับเข้าไปสู่จุดเดิม ไม่นูนออกมากดทับเส้นประสาท และส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยรอบและปรับปรุงความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง การปรับท่าทางการทำงานในการใช้ชีวิต ประจำวันเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำในอนาคต


2.โรคกระดูกสันหลังเสื่อมระดับเอว (Lumbar Spodylosis)

ภาวะนี้เกิดขึ้นจากความเสื่อมของร่างกายตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต เมื่อเวลาผ่านไป หรือโตขึ้น ความเสื่อมก็จะค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ความเสื่อมมากหรือน้อยในแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ จากการใช้ชีวิต เช่น โรคประจำตัว ลักษณะการทำงาน กิจกรรมที่ทำเป็นประจำ เป็นต้น ความเสื่อมของกระดูกสันหลังส่งผลทำให้เกิดอาการปวดและตึงบริเวณหลังส่วนล่าง หรือหากความเสื่อมนี้มีการงอกของกระดูกไปกดทับที่เส้นประสาทไขสันหลัง หรือทำให้ช่องทางเดินของเส้นเลือดบริเวณกระดูกสันหลังตีบแคบ ก็จะส่งผลให้เกิดอาการชาร้าว เป็นตะคริวง่าย เดินไกลไม่ได้ หากมีอาการ หรือสงสัยว่าตัวเองเป็นโรคกระดูกสันหลังระดับเอวเสื่อมหรือไม่ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ และนักกายภาพบำบัดเพื่อประเมินอาการ และวางแผนการรักษา


3.กระดูกสันหลังเคลื่อน (L - Spondylolisthesis)

ภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน คือภาวะที่มีกระดูกสันหลังระดับใดระดับหนึ่งหนึ่งเลื่อนไปข้างหน้าหรือข้างหลัง เทียบจากกระดูกสันหลังชิ้นที่อยู่ติดกัน มักจะเกิดจาก อุบัติเหตุเป็นส่วนใหญ่ หรือเกิดจากโรคประจำตัวที่ทำให้เกิดความเปราะบางของกระดูก เช่น มะเร็งกระดูก กระดูกพรุน เป็นต้น กายภาพบำบัดสามารถช่วยได้โดยการเสริมสร้างกล้ามเนื้อแกนกลางเพื่อให้มีความมั่นคงและรองรับกระดูกสันหลัง


4.กระดูกสันหลังตีบ (Spinal stenosis)

เป็นโรคที่เกิดการตีบของช่องกระดูกสันหลัง ทำให้ช่องของกระดูกสันหลังที่เป็นทางผ่านของรากประสาท เส้นเลือดต่าง ๆ แคบลง ทำให้เกิดการบีบรัดสร้างแรงกดดันต่อไขสันหลังและเส้นประสาท และเกิดอาการปวดหลังได้


5.กล้ามเนื้อบาดเจ็บชนิดเฉียบพลัน และเรื้อรัง (Chronic muscle strain & Acute muscle strain)

การเคลื่อนไหวของร่างกายต้องอาศัยการหดตัว และคลายตัวของกล้ามเนื้อ ดังนั้นในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในการใช้ชีวิตประจำวันล้วนแล้วต้องใช้กล้ามเนื้อทั้งนั้น ดังนั้นจึงมีโอกาสที่กล้ามเนื้อจะเกิดการบาดเจ็บได้ สาเหตุของการบาดเจ็บ มีได้หลายสาเหตุ เช่น การทำงานท่าเดิมซ้ำ ๆ การกระแทก การเกิดอุบัติเหตุ


อาการปวดหลังส่วนล่างสามารถส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ดังนั้นหากมีอาการปวดหลังส่วนล่าง จึงควรหาทางรักษา หรือจัดการกับอาการปวดที่เกิดขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้อาการปวดมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ หากท่านใดกำลังมองหาคลินิกกายภาพบำบัดเพื่อตรวจประเมิน วางแผนการรักษา ท่านสามารถเข้ามาใชบริการได้ที่ “คลินิกกายภาพบำบัด Zenista Health and Wellness สาขาชลบุรี” และ “คลินิกกายภาพบำบัด Zenista Health and Wellness สาขาเพชรบุรี” ทั้งสองสาขา หรือสอบถามเพิ่มเติม/ต้องการนัดหมายล่วงหน้า ได้ที่ Line : @zenista

บริการแนะนำ

กายภาพบำบัด,กายภาพบำบัด ชลบุรี, กายภาพบำบัด เพชรบุรี

กายภาพบำบัด

คลินิกกายภาพบำบัด ชลบุรี เพชรบุรี ZENISTA CLINIC

รักษาข้อเข่าเสื่อม,รักษาข้อเข่าเสื่อม ชลบุรี, รักษาข้อเข่าเสื่อม เพชรบุรี

รักษาข้อเข่าเสื่อม

คลินิกกายภาพบำบัด ชลบุรี เพชรบุรี ZENISTA CLINIC

รักษาออฟฟิศซินโดรม,รักษาออฟฟิศซินโดรม ชลบุรี, รักษาออฟฟิศซินโดรม เพชรบุรี

รักษาออฟฟิศซินโดรม

รักษาออฟฟิศซินโดรม อาการปวดหลังเรื้อรัง