
ข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้ใหญ่วัยทำงานและกลุ่มผู้สูงอายุ อาการหลัก ๆ คือปวดเมื่อเดินลงน้ำหนัก ในช่วงระยะแรกๆ อาการอาจยังไม่รุนแรงมาก แต่หากปล่อยไว้นานโดยไม่จัดการ อาการเข่าเสื่อมอาจค่อยๆ รุนแรงขึ้น และอาจจำกัดความสามารถในการเคลื่อนไหวและการทำกิจกรรมต่างๆ การดูแลสุขภาพข้อเข่าจึงมีความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตในระยะยาว
ดังนั้น นอกจากการหาวิธีรักษาแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการดูแลข้อเข่าให้เหมาะสมเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อชะลอการเสื่อมของข้อเข่าและรักษาคุณภาพชีวิตในระยะยาว
จะสังเกตอย่างไรว่าอาการที่เป็นอยู่คือโรคเข่าเสื่อม
ข้อเข่าเสื่อมมีอาการที่ค่อยๆ เกิดขึ้นอย่างช้าๆ และมีอาการที่สามารถสังเกตได้จากอาการต่อไปนี้ครับ
- อาการปวดเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ค่อยเป็นค่อยไป: ในระยะแรกๆ อาการปวดจะไม่รุนแรง แต่จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเมื่อมีการใช้งานข้อเข่ามากขึ้น และเมื่อเวลาผ่านไปนานผิวข้อมีความขรุขระมากขึ้นความปวดก็มักรุนแรงขึ้นตามไปด้วยครับ
- เข่าอักเสบหลังทำกิจกรรมที่ต้องใช้เข่า: หลังจากทำกิจกรรมที่ต้องใช้งานข้อเข่าหนัก เช่น การเดินนานๆ หรือการงอเข่าสุด อาจทำให้เกิดอาการอักเสบและปวดเพิ่มขึ้นจากการเสียดสีกันภายในข้อเข่าที่มีอาการเสื่อม
- เข่าฝืด ขัด เคลื่อนไหวยากในตอนเช้า: เมื่อตื่นนอนในตอนเช้า ข้อเข่าจะรู้สึกฝืดขัดและเคลื่อนไหวยาก ซึ่งเป็นอาการที่บ่งชี้ถึงการเสื่อมของข้อเข่า
หากมีอาการ 3 ข้อนี้ มักจะสื่อไปถึงเรื่องเข่าเสื่อมครับ
5 สิ่งที่ควรทำเมื่อมีอาการข้อเข่าเสื่อม
1. หาวิธีรักษาอาการปวด
การปวดเข่าไม่เพียงแต่เป็นสัญญาณของข้อเข่าเสื่อมเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การรักษาอาการปวดจะช่วยบรรเทาความทุกข์ทรมานและชะลอการเสื่อมสภาพของข้อเข่า การปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อดูแลให้เข่าของเรามีสุขภาพที่ดี
2. หลีกเลี่ยงการเดินในพื้นที่ที่ระดับพื้นไม่สม่ำเสมอ
การเดินในพื้นที่ที่ระดับพื้นไม่สม่ำเสมอ เช่น ในไร่ เดินป่า หรือพื้นที่ที่มีสิ่งกีดขวาง จะทำให้ข้อเข่าต้องรับแรงกระแทก หรือทำงานหนักมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้อาการเข่าเสื่อมแย่ลง การเดินบนพื้นเรียบและสม่ำเสมออาจช่วยลดการกระแทกและเป็นทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับผู้มีปัญหาข้อเข่า
3. หลีกเลี่ยงการงอเข่าสุด
การงอเข่าสุด เช่น การนั่งยองหรือการงอเข่าเต็มที่ จะทำให้กระดูกอ่อนในข้อเข่าสบกันมากขึ้น ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อน การหลีกเลี่ยงการงอเข่าสุดอาจช่วยลดการเสื่อมสภาพของข้อเข่า และเป็นการดูแลข้อเข่าที่ควรใส่ใจ
4. ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบเข่า
กล้ามเนื้อรอบข้อเข่าที่แข็งแรงมีส่วนช่วยลดภาระของข้อเข่า และอาจช่วยชะลอการเสื่อมสภาพ การออกกำลังกายที่เน้นกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า เช่น การเดินหรือการปั่นจักรยาน เป็นกิจกรรมที่แนะนำ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อและดูแลสุขภาพข้อเข่า
5. หลีกเลี่ยงการกระแทกหรือการเกิดอุบัติเหตุบริเวณเข่า
การกระแทกที่ข้อเข่าโดยตรง เช่น การล้ม การชน หรือการบาดเจ็บจากกีฬา สามารถส่งผลเสียต่อกระดูกอ่อนในข้อเข่า และอาจทำให้อาการข้อเข่าเสื่อมเป็นมากขึ้น การป้องกันอุบัติเหตุและการดูแลข้อเข่าอย่างเหมาะสมจึงมีความสำคัญ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดข้อเข่าเสื่อม หรือช่วยบรรเทาความรุนแรงของอาการในผู้ที่มีอาการเข่าเสื่อมอยู่แล้ว
เข่าเสื่อมเป็นโรคที่ควรให้ความสำคัญตั้งแต่ระยะแรก
ข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่คนส่วนใหญ่มักไม่ให้ความสำคัญในช่วงระยะแรกๆ เนื่องจากอาการที่ปวดไม่มาก แป๊บๆเดี๊ยวก็หาย แต่จะเริ่มกังวลเมื่ออาการรุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่ออาการถึงขั้นที่มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันแล้ว การรักษาจะยากขึ้น ดังนั้น เมื่อรู้สึกว่ามีอาการปวดเข่า ควรปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดเพื่อประเมินอาการและหาทางรักษาอย่างถูกต้อง
ที่คลินิกกายภาพบำบัด Zenista Health and Wellness สาขาชลบุรี และสาขาเพชรบุรี เราให้บริการตรวจรักษาข้อเข่าโดยแพทย์เฉพาะทางด้านระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ และนักกายภาพบำบัดที่มีประสบการณ์ หากท่านมีอาการปวดเข่าและกำลังมองหาคลินิกที่มีประสบการณ์ในการรักษาข้อเข่าเสื่อม สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line id: @zenista เพื่อรับคำปรึกษาและการรักษาที่มีประสิทธิภาพ