เข่าเสื่อม ( osteoarthritis knee)

เข่าเสื่อม

อาการเสื่อมจะค่อยๆเป็นมากขึ้นไม่สามารถพื้นฟูตัวเองได้

เข่าเสื่อม ( osteoarthritis knee)

มนุษย์เกิดมาพร้อมกับร่างกายที่จะค่อยๆ เสื่อมลงทุกๆ วันตามอายุนั่นทำให้เมื่อเรายิ่งอายุมากขึ้นก็จะบาดเจ็บได้ง่ายขึ้นตามไปด้วย ปัญหาที่พบได้บ่อยๆจากความเสื่อมคือ “เข่าเสื่อม


อาการเข่าเสื่อมคืออาการที่กระดูกอ่อนบริเวณลูกสะบ้าและกระดูกอ่อนในข้อเข่าเกิดความเสียหายต่อเนื่องและพัฒนามาเรื่อยๆ จากผิวข้อที่เรียบ ไม่มีรอยบาดเจ็บค่อยๆมีความเสื่อมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆและกลายเป็นผิวข้อที่ขรุขระบางจุดของผิวข้อไม่มีกระดูกอ่อนทำให้การเสียดสีที่เกิดขึ้นในข้อเข่าเป็นการเสียดสีกันของกระดูกแข็งๆเนื่องจากไม่มีกระดูกอ่อนมารองรับเกิดเป็นอาการเจ็บเข่า เข่าอักเสบ อาการเสื่อมเมื่อเกิดขึ้นแล้วอาการจะค่อยๆเป็นมากขึ้นไม่สามารถพื้นฟูตัวเองได้ด้วยกลไกของร่างกายตามธรรมชาติ สิ่งที่ทำได้คือป้องกันการเกิดภาวะข้อเข่าเสื่อมและคงสภาพไว้ไม่ให้เสื่อมเพิ่มและสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้มากที่สุด สุดท้ายแล้วหากอาการข้อเข่าเสื่อมรบกวนชีวิตประจำวันมากแพทย์อาจพิจารณาแนะนำให้ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าแต่การผ่าตัดนี้จะขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัยว่าสามารถผ่าได้หรือไม่ เช่น อายุ โรคประจำตัว ฯลฯ


สาเหตุข้อเข่าเสื่อม

ในข้อเข่าจะมีกระดูกอ่อนสีขาวขุ่นหุ้มผิวข้อเพื่อทำหน้าที่ในการซับแรงกระแทกเพิ่มความสะดวกในการขยับข้อเข่า แต่เมื่อมีการบาดเจ็บต่อเนื่องหรือใช้งานมาเรื่อยๆจะเริ่มเปลี่ยนจากสีขาวขุ่นเป็นสีเหลือง ความยืดหยุ่นเริ่มลดน้อยลง ผิวข้อมีความแข็งมากขึ้น เกิดการบาดเจ็บได้ง่ายมากขึ้น บนกระดูกอ่อนอาจมีรอยแตกเป็นริ้วๆ ประกอบกับเมื่ออายุมากขึ้นน้ำในข้อเข่าก็มักจะลดลงขอบกระดูกมีความขรุขระ บางครั้งอาจมีการหลุดลอกของแผ่นของกระดูกอ่อนสีเหลืองนี้ในข้อเข่า เมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อเข่าจะเกิดการเสียดสีของข้อเข่ามากขึ้นกลายเป็นอาการอักเสบ อาการปวดเมื่อเคลื่อนไหวข้อเข่าในที่สุด


ปัจจัยเสี่ยงของภาวะข้อเข่าเสื่อม

1.เพศ

จากหลายๆการศึกษาระบุว่าผู้หญิงที่เข้าสู่วัยผู้ใหญ่จะมีโอกาสเกิดภาวะข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าผู้ชาย 2-3 เท่า และเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงทำให้มีการบางของกระดูกอ่อนอีกด้วย

2.อายุ

อายุส่งผลโดยตรงต่อความเสื่อม ไม่เฉพาะแค่ข้อเข่าแต่เป็นความเสื่อมของทั้งร่างกายเนื่องจากว่าระบบการซ่อมแซมต่างๆในร่างกายลดลง ในผู้ที่มีอายุ 40 ปี ขึ้นไป จะเกิดภาวะข้อเข่าเสื่อมได้มากขึ้น

3.น้ำหนักตัว

ในบุคคลที่มีภาวะน้ำหนักตัวสูงกว่าเกณฑ์จะเกิดภาะวะข้อเข่าเสื่อมได้ง่ายเนื่องจากว่าข้อเข่ามีหน้าที่ในการรับแรงกดทับจากทั้งร่างกายและรับแรงกระแทกจากการทำกิจกรรมต่างๆ ทำให้มีโอกาสเกิดการเสียดสีกันของกระดูกและโครงสร้างอื่นๆในข้อเข่าเพิ่มมากขึ้น

4.การใช้งานข้อเข่า

การใช้งานข้อเข่าในลักษณะที่มีการกระแทกหนักๆหรือเกิดอุบัติเหตุโดยตรงที่ข้อเข่าเป็นสาเหตุให้เกิดการบาดเจ็บเรื้อรังต่อผิวข้อได้ หรือการนั่งคุกเข่านานๆ การนั่งพับเพียบไหว้พระก็สามารถส่งผลต่อภาวะข้อเข่าเสื่อมได้เนื่องจากมีการบีบอัดภายในข้อเข่าสูง

การดูแลข้อเข่าเสื่อมด้วยตัวเอง

1. การออกกำลังกายอย่างถูกต้องเหมาะสม

กล้ามเนื้อ quadriceps (ควอดดริเซป) เป็นกล้ามเนื้อต้นขาทางด้านหน้าประกอบด้วยกล้ามเนื้อมัดย่อยๆทั้งหมด 4 มัด หน้าที่ของกล้ามเนื้อ quadriceps คือการเหยียดข้อเข่าไปทางด้านหน้า การวิ่ง การเดิน การเตะขา การรักษาสมดุลของลูกสะบ้าและข้อเข่าขณะมีการเคลื่อนไหวรวมถึงช่วยเข่ารับแรงจากร่างกายอีกด้วย หากกล้ามเนื้อมัดนี้มีความแข็งแรงก็จะสามารถช่วยลดอาการปวดเข่าหรือลดความเสี่ยงการเกิดภาวะข้อเข่าเสื่อมได้

การออกกำลังกายที่ดีของข้อเข่าคือ การออกกำลังกายที่เข่างอไม่เกิน 90 องศา รับแรงกระแทกไม่เยอะ เช่น การปั่นจักรยาน การเดินเร็ว การเดินในน้ำ การว่ายน้ำเป็นต้น

2. การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจะทำให้ข้อเข่าไม่ต้องเพิ่มภาระมากในการรับแรงหรือซับแรงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันโดยมีการศึกษาสนับสนุนว่าผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ปกติจะมีโอกาสเกิดภาวะข้อเข่าเสื่อมมากถึง 2/3

3. การหลีกเลี่ยงอันตรายที่จะเกิดต่อข้อเข่า

การหลีกเลี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บต่อข้อเข่าย่อมเป็นผลดีต่อข้อเข่าแน่นอน สิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยงหลักๆคือการได้รับแรกกระแทกโดยตรงที่ข้อเข่า การมีแรงบีบอัดในข้อเข่านานๆเช่นการคุกเข่า การนั่งยอง การนั่งพับเพียบ กิจกรรมเหล่านี้หากทำนานๆมักจะส่งผลให้เกิดอาการปวดในข้อเข่าได้หากทำซ้ำๆบ่อยๆ

 

ความสำคัญของข้อเข่าไม่ใช่แค่การเดินเท่านั้นแต่ยังสำคัญไปถึงการทำกิจกรรมอื่นๆมากมายในชีวิตประจำวันเช่น การยืนอาบน้ำ การยืนตากผ้า การแต่งตัว การออกนอกบ้านไปทำกิจกรรม ซึ่งหากดูแลเข่าไม่ดีนั่นหมายความว่าอาจจะทำให้คุณภาพการใช้ชีวิตลดลงตามไปด้วยครับ ท่านสามารถเข้ามาขอคำปรึกษาจากนักกายภาพบำบัด “คลินิกกายภาพบำบัด “คลินิกกายภาพบำบัด Zenista Health and Wellness” เพื่อทราบวิธีที่เหมาะกับตัวของท่านได้ครับ

บริการแนะนำ

กายภาพบำบัด,กายภาพบำบัด ชลบุรี, กายภาพบำบัด เพชรบุรี

กายภาพบำบัด

คลินิกกายภาพบำบัด ชลบุรี เพชรบุรี ZENISTA CLINIC

รักษาข้อเข่าเสื่อม,รักษาข้อเข่าเสื่อม ชลบุรี, รักษาข้อเข่าเสื่อม เพชรบุรี

รักษาข้อเข่าเสื่อม

คลินิกกายภาพบำบัด ชลบุรี เพชรบุรี ZENISTA CLINIC

รักษาออฟฟิศซินโดรม,รักษาออฟฟิศซินโดรม ชลบุรี, รักษาออฟฟิศซินโดรม เพชรบุรี

รักษาออฟฟิศซินโดรม

รักษาออฟฟิศซินโดรม อาการปวดหลังเรื้อรัง