อาการปวดหลังแบบไหน…ที่อันตราย

อาการปวดหลังแบบไหน…ที่อันตราย

ปัจจุบันนี้ผู้คนส่วนใหญ่มักจะมีอาการบาดเจ็บตามร่างกายจากการทำงาน และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปมากนับจากเมื่อก่อน อาจจะด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มีการพัฒนามากขึ้น ลักษณะสังคมที่เปลี่ยนไป

หนึ่งในอาการบาดเจ็บที่มักจะพบเจอได้บ่อย ๆ คืออาการปวดหลัง แต่อาการปวดหลังนั้น สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ และแต่ละสาเหตุก็ย่อมมีความรุนแรงที่ต่างกันออกไป การรักษา ระยะการหายของโรคก็ย่อมต่างกันออกไปด้วย


ดังนั้น ในบทความนี้ เราจะพูดถึง “อาการปวดหลัง” ที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ จะมีอาการแบบไหนบ้าง เชิญติดตามได้ในบทความนี้ครับ

1.อาการปวดหลัง ที่ไม่สามารถก้ม หรือเอนตัวได้

อาการปวดหลังที่ไม่สามารถก้มตัว หรือเอนตัวได้ มักจะเกิดจากการที่มีความเจ็บปวดเป็นอย่างมากหากมีการเคลื่อนไหวของโครงสร้างใด โครงสร้างหนึ่งบริเวณหลังส่วนล่าง เช่น กล้ามเนื้อ กระดูกสันหลังระดับเอว เส้นประสาทไขสันหลัง หรือหมอนรองกระดูก เป็นต้น เมื่อมีอาการปวดหลัง หรือเจ็บมากจนเคลื่อนไหวลำบาก ไม่แนะนำให้ฝืนเคลื่อนไหว เนื่องจากโครงสร้างที่เกิดอาการบาดเจ็บ อาจจะบาดเจ็บรุนแรงขึ้น และอาการที่เกิดขึ้นแย่ลงได้

2.อาการปวดหลังร่วมกับมีอาการชา ร้าวลงขา

อาการปวดหลังร่วมกับอาการชา ร้าวลงขา มักจะสื่อไปถึงการรบกวนของเส้นประสาทไขสันหลัง เช่น

หมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นทับเส้นประสาท(HNP: herniated nucleus palposus)

กระดูกสันหลังเสื่อม(Spondylosis)

กระดูกสันหลังตีบแคบ(Spinal stenosis)

อาการชา ร้าวลงขาจะเกิดขึ้นตรงบริเวณไหนของขาขึ้นอยู่กับว่า เส้นประสาทที่ไปหล่อเลี้ยงตรงไหนถูกรบกวน เช่น หากเกิดการรบกวนที่เส้นประสาทไขสันหลังระดับที่ 5 จะเกิดอาการชา ร้าวลงไปที่หน้าแข้งทางด้านนอกลงไปถึงนิ้วเท้า

3.ปวดแปล๊บที่หลังขณะไอ หรือจาม

การที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง และเกิดอาการเสียวแปล๊บนั่นแสดงว่าเกิดจากการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกสันหลัง หรือที่มักจะเรียกว่าหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นทับเส้นประสาท สาเหตุเกิดจากว่า ขณะที่ไอหรือจามนั้นทำให้แรงดันในร่างการเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และท่าทางในการไอ หรือจามมักจะมีการงอตัวไปทางด้านหน้า ทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังที่มีลักษณะเป็นก้อนเจลลี่นูนออกไปทางด้านหลัง ไปกดทับเส้นประสาทไขสันหลังและแสดงออกมาเป็นอาการเจ็บแปลณบขณะไอ หรือจาม

4.มีอาการปวดหลังติดต่อกัน 4 สัปดาห์ ขึ้นไป

อาการปวดหลังถูกแบ่งออกเป็น 3 ระยะ

อาการปวดหลังแบบเฉียบพลัน (Acute back pain) คือ อาการปวดหลังที่มีอย่างต่อเนื่องน้อยกว่า 6 สัปดาห์

อาการปวดหลังกึ่งเฉียบพลัน (Subacute back pain) คือ อาการปวดหลังที่มีอย่างต่อเนื่องมากกว่า 6 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 3 เดือน

อาการปวดหลังเรื้อรัง (Chronic back pain) คือ อาการปวดหลังที่มีอย่างต่อเนื่องมากกว่า 3 เดือน

อาการปวดหลังแบบเฉียบพลัน เป็นอาการที่สามารถหายเป็นปกติได้ไวที่สุด และง่ายที่สุด ส่วนระยะต่อมาจะหายช้าหรือไวนั้น ขื้นอยู่กับการดูแล ดังนั้นหากมีอาการปวดหลัง เกิด 4 สัปดาห์ หมายความว่า อาการกำลังจะเข้าสู่ระยะกึ่งเฉียบพลัน หมายความว่าการรักษาจะต้องใช้เวลานานขึ้น หรือหายได้ยากกว่าระยะเฉียบพลันครับ

หากท่านเป็นคนหนึ่งที่มีอาการปวดหลังไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม สามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัด Zenista Health and Wellness สาขาชลบุรี” และ “คลินิกกายภาพบำบัด Zenista Health and Wellness สาขาเพชรบุรี” ทั้งสองสาขาเพื่อตรวจร่างกาย วางแผนการรักษา และรับการรักษาต่อไป

สอบถามเพิ่มเติม/ต้องการนัดหมายล่วงหน้า ได้ที่ Line : @zenista

บริการแนะนำ

กายภาพบำบัด,กายภาพบำบัด ชลบุรี, กายภาพบำบัด เพชรบุรี

กายภาพบำบัด

คลินิกกายภาพบำบัด ชลบุรี เพชรบุรี ZENISTA CLINIC

รักษาข้อเข่าเสื่อม,รักษาข้อเข่าเสื่อม ชลบุรี, รักษาข้อเข่าเสื่อม เพชรบุรี

รักษาข้อเข่าเสื่อม

คลินิกกายภาพบำบัด ชลบุรี เพชรบุรี ZENISTA CLINIC

รักษาออฟฟิศซินโดรม,รักษาออฟฟิศซินโดรม ชลบุรี, รักษาออฟฟิศซินโดรม เพชรบุรี

รักษาออฟฟิศซินโดรม

รักษาออฟฟิศซินโดรม อาการปวดหลังเรื้อรัง