อาการตึงของกล้ามเนื้อเกิดจากอะไร

อาการตึงของกล้ามเนื้อเกิดจากอะไร


“เคยสงสัยกันไหมครับว่าทำไมกล้ามเนื้อถึงตึงได้?”


หลายท่านอาจะทราบกันดีอยู่แล้วอาการที่เราบอกว่า “รู้สึกตึงๆ” “รู้สึกกล้ามเนื้อเป็นก้อนๆ แผ่นๆ” มันคืออาการตึง และอาการตึงนี้ทำให้เกิดความไม่สุขสบายต่อร่างกาย แต่คงมีไม่มากที่จะรู้ว่าอาการตึงนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร แต่!! ท่านก็อาจจะมีคำถามอีกว่า “รู้ไปแล้ว แล้วได้อะไรล่ะ” คำตอบคือ เมื่อท่านรู้สาเหตุแล้ว ท่านจะสามารถหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดอาการตึงได้และอาการตึงจะเกิดได้น้อยลงครับ


เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า ความตึงเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ความตึงตัวของกล้ามเนื้อทุกคนมีอยู่แล้วครับแต่เป็นอาการตึงที่ปกติไม่ส่งผลรบกวนต่อร่างกาย ในบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะความตึงตัวที่มากกว่าปกติจนทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพหรือเกร็งขึ้นมานะครับ อาการตึงเกิดจากกล้ามเนื้อหดตัวต่อเนื่องและไม่คลายตัวโดยสาเหตุหลักๆคือ


1. เกิดจากความเคยชิน เช่นตึงบ่าขณะใช้คอมพิวเตอร์ ตึงคอขณะเล่นโทรศัพท์มือถือ ความตึงนี้เรามักจะตึงโดยที่ไม่รู้ตัว จะรู้ตัวอีกทีก็ต่อเมื่อมีอาการไม่สุขสบายบริเวณดังกล่าวแล้ว การตึงนี้จะสามารถแก้ได้หากพึ่งตึงมาได้ไม่นาน แก้โดยการพยายามปรับพฤติกรรม ปรับกิจวัตรประจำวัน การยืดกล้ามเนื้อเอง เป็นต้น แต่หากมีอาการตึงจากความเคยชินนี้มาเป็นระยะเวลานานการแก้ไขจะยากขึ้นตามความนานของระยะเวลาที่เป็น ยกตัวอย่างง่ายๆ คนที่มีอาการเกณ็งบริเวณบ่าจากการใช้คอมที่มีอาการปวดร่วมด้วยที่เป็นมาแล้ว 6 เดือน จะรักษาได้ง่ายกว่าคนที่เป็นมาแล้ว 2 ปี (ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับระดับความหนักของกิจกรรมและสภาวะส่วนตัวด้วยนะครับ) การแก้อาจจะต้องขอคำแนะนำจากนักกายภาพบำบัดเพื่อหาแนวทางการรักษาอย่างเหมาะสม การทำ shockwave การใช้ ความร้อน การultrasound จะสามารถช่วยได้รวมถึงการปรับพฤติกรรมและการยืดกล้ามเนื้อด้วยตัวเองทุกๆวันหรือตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด


2. เกิดจากการบาดเจ็บ การบาดเจ็บนี้เกิดกับโครงสร้างไหนก็ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นเฉพาะที่กล้ามเนื้อ เช่นกระดูกต้นขาหักกล้ามเนื้อรอบๆต้นขาจะเกร็ง หรือ เอ็นบริเวณไหล่ฉีก กล้ามเนื้อรอบๆหัวไหล่ก็จะเกร็งตัวขึ้นมา กลไกลการเกร็งนี้เกิดขึ้นเพื่อป้องกันการบาดเจ็บของโครงสร้างต่างๆของร่างกาย ไม่ให้เกิดการบาดเจ็บซ้ำ ถ้านึกภาพง่ายๆก็คงเมื่อมีอะไรจะพุ่งมาชนเรา เราก็จะเกร็งตัวเพื่อรอรับแรงกระแทกหรือป้องกันตัวเองจากแรงปะทะนั้นๆ อารมณ์ประมาณนั้นเลยครับ อาการเกร็งที่เกิดจากการบาดเจ็บนี้พิเศษตรงที่ว่า หากการบาดเจ็บนั้นมีอาการนานๆจนกล้ามเนื้อเกร็งจนชินแล้ว ในบางครั้งจะทำให้มีอาการเกร็งต่อไปแม้ว่าอาการบาดเจ็บหายไปแล้วและกลายไปเป็นอาการเกร็งจากความเคยชินแทนครับ การแก้ไขอาการตึงที่เกิดจากการบาดเจ็บนี้แก้ได้ที่สาเหตุโดยตรงคือการลดอาการเจ็บปวดบริเวณนั้นๆเมื่ออาการบาดเจ็บหายไปแล้วอาการเกร็งจะค่อยๆผ่อนลงตามไปด้วย แต่ในกรณีที่มีอาการมานานแล้วอาการเกร็งจากการบาดเจ็บเปลี่ยนเป็นอาการตึงจากความเคยชินก็จะต้องแก้อาการเป็นอีกแบบหนึ่งตามที่ได้กล่าวไปในข้อที่แล้วครับ


3. อาการตึง/เกร็งของกล้ามเนื้อที่เกิดจากระบบประสาทส่วนกลาง อาการตึงนี้เกิดจากโรคบางอย่างที่เกิดกับระบบประสาทส่วนกลางเช่น เส้นเลือดสมองแตก ภาวะสมองขาดเลือด หรือ ภาวะบาดเจ็บของไขสันหลัง(spinal cord injury) อาการตึงนี้มักจะสูงมากจนกลายเป็นอาการเกร็ง ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายที่สุดคือ ในผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือสมองแตกหรือตีบมักจะมีการกำมือและงอศอกอยู่ตลอดเวลาเป็นผลมาจากการเกร็งของกล้ามเนื้อที่เกิดจากสมองบาดเจ็บ ในส่วนนี้ต้องใช้หลายวิชาชีพเพื่อมาแก้ไขรวมถึงนักกายภาพบำบัดด้วย


4. การเกร็งจากการขาดความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ ในทุกๆคนที่ไม่ค่อยได้ยืดกล้ามเนื้อ หรือคนที่เริ่มมีอายุมักจะรู้สึกว่าหากนั่งขัดสมาธิหรือนั่งพับเพียบนานๆแล้วรู้สึกเหยียดขาไม่ค่อยออก รู้สึกฝืดๆรีบยืดแล้วเจ็บนั่นแสดงว่าเกิดความตึงของกล้ามเนื้อจากการขาดความยืดหยุ่นครับ สังเกตุง่ายๆเลยคือเมื่อเราค้างอยู่ในท่าไหนนานๆแล้วจะขยับลำบากนั่นหมายถึงว่ากล้ามเนื้อยืดหยุ่นได้ไม่ดีครับ การแก้ไขคือการยืดกล้ามเนื้อบ่อยๆร่วมกับการประคบร้อนในช่วงแรกๆของการฝึกยืด สาเหตุนี้ต้องอาศัยเวลาและความสม่ำเสมอเข้ามาช่วยครับแต่เบื่องต้นอยากให้เข้ามาขอคำปรึกษาจากนักกายภาพบำบัดเนื่องจากว่าการยืดที่ผิดวิธีในผู้ที่เสียความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อมักส่งผลเสียมากกว่าผลดีครับ


จากที่พิมพ์ไปนี่คือสาเหตุหลักๆที่ทำให้เกิดอาการตึงของกล้ามเนื้อ ซึ่งเมื่อท่านทราบแล้วท่านสามารถนำไปปรับใช้ได้ แต่หากว่าไม่รู้ว่าแบบที่เป็นอยู่ในตอนนี้คืออาการตึงไหม หรืออาการที่ตึงๆอยู่นี้เกิดจากอะไรแก้ไขอย่างไรได้บ้าง ท่านสามารถเข้ามาขอคำปรึกษา คำแนะนำได้โดยไม่มีค่าจ่ายใดๆทั้งสิ้น หรือหากหลังจากปรึกษาแล้วอยากรักษาก็สามารทำได้เลยเนื่องจากว่า “คลินิกกายภาพบำบัด Zenista Health and Wellness”ให้คำปรึกษาและตรวจประเมินโดยนักกายภาพบำบัดที่มีประสบการณ์ และยังมีบริการให้ทดลองรักษาฟรีอีกด้วยเพื่อประกอบการตัดสินใจ หากท่านมีอาการตึงเมื่อไหร่ให้นึกถึง “คลินิกกายภาพบำบัด Zenista Health and Wellness”นะครับ

บริการแนะนำ

กายภาพบำบัด,กายภาพบำบัด ชลบุรี, กายภาพบำบัด เพชรบุรี

กายภาพบำบัด

คลินิกกายภาพบำบัด ชลบุรี เพชรบุรี ZENISTA CLINIC

รักษาข้อเข่าเสื่อม,รักษาข้อเข่าเสื่อม ชลบุรี, รักษาข้อเข่าเสื่อม เพชรบุรี

รักษาข้อเข่าเสื่อม

คลินิกกายภาพบำบัด ชลบุรี เพชรบุรี ZENISTA CLINIC

รักษาออฟฟิศซินโดรม,รักษาออฟฟิศซินโดรม ชลบุรี, รักษาออฟฟิศซินโดรม เพชรบุรี

รักษาออฟฟิศซินโดรม

รักษาออฟฟิศซินโดรม อาการปวดหลังเรื้อรัง