ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสื่อมของกระดูกสันหลังระดับคอ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสื่อมของกระดูกสันหลังระดับคอ
เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายของแต่ละคนก็จะเกิดการพัฒนาแบบถดถอย หรือเรียกกันง่าย ๆ ว่า เกิดความเสื่อมขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบกล้ามเนื้อ ระบบหัวใจ หายใจ และหลอดเลือด รวมไปถึงระบบอื่น ๆ ในร่างกาย แต่ในบทความนี้เราจะพูดถึง ปัจจัยที่สามารถส่งผลให้เกิดความเสื่อมของกระดูกสันหลังระดับคอได้ ซึ่งเชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อย ประสบกับปัญหากระดูกสันหลังระดับคอเสื่อม ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการปวดบริเวณคอ ปวดบ่า ไหล่ ชาแขน หรือในกรณีที่ร้ายแรงก็สามารถทำให้เกิดอาการอ่อนแรงได้ ดังนั้น หากทราบว่า ปัจจัยใดส่งผลให้เกิดความเสื่อมของกระดูกสันหลังส่วนคอได้ ก็สามารถหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดอาการได้
5 ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดกระดูกสันหลังระดับคอเสื่อม
1. ท่าทางและการยศาสตร์ที่ไม่ดี
- การใช้ท่าทางที่ไม่ดีเป็นเวลานาน เช่น การยื่นศีรษะไปข้างหน้าของพนักงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน สามารถส่งผลต่อสุขภาพของกระดูกสันหลังส่วนคอได้
- การยศาสตร์ที่ไม่เหมาะสม หรือสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงานไม่เหมาะสม เช่นใช้เก้าอี้หรือโต๊ะที่เตี้ยเกินไป การวางตำแหน่งของหน้าจอหรือแป้นพิมพ์สูงเกินไป มักทำให้เกิดท่าทางที่ไม่ดีต่อสุขภาพในการทำงาน และส่งผลไปถึงกระดูกสันหลังระดับคอ
*การยศาสตร์ คือศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมการทำงานเพื่อสงเสริมให้ผู้ทำงาน เกิดความสะดวกสบาย และลดโอกาสการเกิดอาการบาดเจ็บจากการทำงาน โดยวิเคราะห์จากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ท่าทางการทำงาน, สุขภาพของผู้ทำงาน, การเคลื่อนไหวของร่างกาย ฯลฯ
2. อายุที่มากขึ้น ร่างกายที่เสื่อมลง
- อย่างที่ได้กล่าวไปในช่วงต้นถึงเรื่องของอายุ อายุที่มากขึ้นจะส่งผลให้เกิดความเสื่อมของกระดูกสันหลัง และความเสื่อมที่เกิดขึ้นนี้อาจส่งผลให้เกิดอาการเจ็บปวดที่บริเวณ คอ บ่า ไหล่ ชาลงแขน หรือมีอาการอ่อนแรงได้
- เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายมักมีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง เช่น หลังส่วนล่างแอ่น หลังส่วนบนค่อม คางยืนไปด้านหน้า สิ่งเหล่านี้ทำให้กระดูกสันหลังระดับคอทำงานมากขึ้น และส่งผลให้เกิดอาการคอเสื่อมได้ในที่สุด
3. การบาดเจ็บและการบาดเจ็บ
- การบาดเจ็บบริเวณคออย่างเฉียบพลัน เช่น การบาดเจ็บในลักษณะที่คอเกิดการกระชากไปข้างหน้าและหลังอย่างกระทันหัน (whiplash injury) ที่อาจเกิดจากอุบัติเหตุ หรือการเล่นกีฬาปะทะ จะส่งผลไปที่กระดูกสันหลังระดับคอโดยตรง และเพิ่มโอกาสที่จะทำให้กระดูกสันหลังระดับคอเสื่อมมากขึ้น
4. แรงความเครียด (Stress) ที่สะสมในกล้ามเนื้อซ้ำ ๆ และการใช้งานกระดูกส่วนคอมากเกินไป
- การเคลื่อนไหวและทำกิจกรรมซ้ำ ๆ ที่ทำให้คอตึง เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานสามารถส่งผลให้เกิดความเสื่อมของกระดูกสันหลังระดับคอได้
*แรงความเครียด (Stress) คือแรงที่สะสมในกล้ามเนื้อจากการเคลื่อนไหว หรือทำกิจวัตรในชีวิตประจำวัน
5. ปัจจัยด้านไลฟ์สไตล์
-ไลฟ์สไตล์บางอย่างในชีวิต สามารถทำให้เกิดความเสื่อมของกระดูกได้ ไม่เฉพาะแค่บริเวณคอเท่านั้นแต่ยังส่งผลไปยังกระดูกทั้งร่างกาย เช่น การสูบบุหรี่ โภชนาการที่ไม่ดี เป็นต้น
โดยสรุปแล้วความเสื่อมของกระดูกสันหลังระดับคอ จะเกิดแบบค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป โดยมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการใช้ชีวิต การทำงาน เป็นสำคัญ อาการเสื่อมของกระดูกสันหลังระดับคอสามารถทำให้เกิดอาการปวดคอ บ่า ไหล่ มีอาการชาลงแขน หรืออ่อนแรงได้
การรักษาทำได้หลายวิธี โดยส่วนมากจะเริ่มจากวิธีที่ไม่ผ่าตัดก่อน เช่น การทานยา การทำกายภาพบำบัด และหากไม่ดีขึ้นถึงจะพิจารณาถึงการผ่าตัดต่อไป
หากท่านเป็นคนหนึ่งที่มีอาการของกระดูกสันหลังระดับคอเสื่อม และกำลังมองหาวิธีการรักษาอยู่ สามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัด Zenista Health and Wellness สาขาชลบุรี” และ “คลินิกกายภาพบำบัด Zenista Health and Wellness สาขาเพชรบุรี” ทั้งสองสาขา หรือสอบถามเพิ่มเติม/ต้องการนัดหมายล่วงหน้า ได้ที่ Line : @zenista