ทำความเข้าใจเรื่องนิ้วล็อก: สาเหตุ ระยะ การรักษา และการป้องกัน

ทำความเข้าใจเรื่องนิ้วล็อก: สาเหตุ ระยะ การรักษา และการป้องกัน

ทำความเข้าใจเรื่องนิ้วล็อก: สาเหตุ ระยะ การรักษา และการป้องกัน

นิ้วล็อก หรือ Trigger finger เป็นอาการทั่วไปที่ส่งผลให้เส้นเอ็นบริเวณนิ้วเกิดอาการอักเสบ และบวมจนการเคลื่อนไหวของนิ้วติดขัด หรือล็อก ซึ่งมักนำไปสู่ความเจ็บปวด ความฝืดและความยากลำบากในการเคลื่อนไหวของนิ้วครับ ในบทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการนิ้วล็อก รวมถึงสาเหตุ ระยะ ผลที่ตามมาที่อาจเกิดขึ้นจากกรณีที่ไม่ได้รับการรักษา รวมถึงมาตรการป้องกัน กันครับ


นิ้วล็อกคืออะไร

นิ้วล็อกเป็นภาวะที่มีการอักเสบและการตีบแคบของปลอกหุ้มที่ล้อมรอบเส้นเอ็นในนิ้ว เมื่อเส้นเอ็นอักเสบ และบวม จะไม่สามารถเคลื่อนตัวผ่านปลอกหุ้มเอ็นได้อย่างราบรื่นอีกต่อไป ส่งผลให้เกิดความรู้สึก "ติดขัด" หรือ "ล็อค" ในระหว่างการเคลื่อนไหวของนิ้ว เมื่อกำมือแล้วจะรู้สึกว่าเหยียดออกไม่ค่อยได้ อาจรู้สึกเจ็บร่วมด้วย


สาเหตุของนิ้วล็อค

-การเคลื่อนไหวนิ้วซ้ำ ๆ หรือกำมือแน่น ๆ นาน ๆ: บุคคลที่มักเคลื่อนไหวนิ้วซ้ำ ๆ บ่อยครั้ง เช่น นักดนตรี ผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์บ่อย ๆ หรือพ่อค้าแม่ค้าอาหารที่ต้องจับเครื่องมือ เช่นมีด ตะหลิวนาน ๆ และต่อเนื่อง

-อายุและเพศ: นิ้วล็อคพบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุระหว่าง 40 ถึง 60 ปี ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะนี้มากกว่า โดยเฉพาะในช่วงวัยหมดประจำเดือน

-โรคประจำตัวบางอย่าง: นิ้วล็อคมีความเกี่ยวข้องกับโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น เบาหวาน โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ และโรคเก๊าต์ เป็นต้น


ระยะของการเกิดนิ้วล็อก

โดยทั่วไปนิ้วล็อกจะมีระยะดำเนินโรคสี่ขั้นตอนดังนี้ครับ

-ระยะที่ 1: ในระยะเริ่มแรกนี้ เจ็บปวด หรือรู้สึกแปล๊บ ๆ เมื่อขยับนิ้ว

-ระยะที่ 2: รู้สึกเจ็บมากขึ้น เกิดการอักเสบของปลอดหุ้มเอ็นมากขึ้น ทำให้เริ่มเกิดการล็อค และมีความยากลำบากในการเหยียดนิ้ว

-ระยะที่ 3: ในขั้นตอนนี้ นิ้วเมื่อติดอยู่ในตำแหน่งงอ โดยต้องใช้มืออีกข้างหนึ่งช่วยยืดออก

-ระยะที่ 4: ในกรณีที่รุนแรงที่สุด นิ้วจะล็อกอยู่ในท่างอ ไม่สามารถยืดออกได้แม้จะใช้มืออีกข้างช่วยก็ตาม เนื่องจากว่าเกิดการอักเสบและบวมของปลอกหุ้มเอ็นอย่างรุนแรง และต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อรักษา


ผลที่ตามมาของนิ้วล็อคที่ไม่ได้รับการรักษา

หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา นิ้วล็อคอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนหลายอย่าง โดยจะเห็นได้ชัดคือ อาการที่มีแค่รู้สึกเจ็บเมื่องอนิ้ว หรือกำมือ จะมากขึ้นเรื่อย ๆ และค่อย ๆ รู้สึกขัยับนิ้วได้แบบฝืด ๆ เมื่อมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็เหยียดนิ้วไม่ได้ในที่สุด สิ่งที่ตามมาก็คือการใช้งานมือไม่ได้ เช่น จับแก้วน้ำ บิดลูกบิด ขับรถ เป็นต้น


การป้องกันนิ้วล็อก

-หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวนิ้วซ้ำ ๆ: หยุดพักเป็นประจำระหว่างทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของนิ้วซ้ำๆ เพื่อให้เส้นเอ็นได้พัก

-ดูแลสุขภาพให้ดีอยู่เสมอ: การไม่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคข้ออักเสบ สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดนิ้วล็อคได้

-ปรับด้ามจับอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต้องใช้อยู่เป็นประจำให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น ใช้ผ้าพันด้ามกะทะ ด้ามตะหลิวให้ใหญ่ขึ้นสำหรับพ่อครัว แม่ครัว การใส่ปลอกหุ้มมือจับมอเตอร์ไซค์ใหญ่ใหญ่ขึ้นสำหรับผู้ที่ขับรถจักรยานยนต์ เป็นต้น


อาการนิ้วล็อกเป็นแรก ๆ ไม่น่ากลัว แต่หากปล่อยทิ้งไว้ อาการจะหนักได้จนถึงไม่สามารถใช้มือได้ ดังนั้น อย่าปล่อยไว้ รีบปรึกษานักกายภาพบำบัดเพื่อหาทางรักษาครับ


ที่ zenista clinic ให้คำแนะนำ ตรวจประเมินร่างกาย วางแผนการรักษา โดยไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถใช้บริการได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัด Zenista Health and Wellness สาขาชลบุรี” และ “คลินิกกายภาพบำบัด Zenista Health and Wellness สาขาเพชรบุรี” ทั้งสองสาขา และสามารถสอบถาม ปรึกษา นัดหมายล่วงหน้าผ่านทางออนไลน์ได้ที่ Line ID : @zenista

บริการแนะนำ

กายภาพบำบัด,กายภาพบำบัด ชลบุรี, กายภาพบำบัด เพชรบุรี

กายภาพบำบัด

คลินิกกายภาพบำบัด ชลบุรี เพชรบุรี ZENISTA CLINIC

รักษาข้อเข่าเสื่อม,รักษาข้อเข่าเสื่อม ชลบุรี, รักษาข้อเข่าเสื่อม เพชรบุรี

รักษาข้อเข่าเสื่อม

คลินิกกายภาพบำบัด ชลบุรี เพชรบุรี ZENISTA CLINIC

รักษาออฟฟิศซินโดรม,รักษาออฟฟิศซินโดรม ชลบุรี, รักษาออฟฟิศซินโดรม เพชรบุรี

รักษาออฟฟิศซินโดรม

รักษาออฟฟิศซินโดรม อาการปวดหลังเรื้อรัง