คู่มือรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างจาก Office Syndrome

คู่มือรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างจาก Office Syndrome

อาการปวดหลัง มักเกี่ยวข้องกับกลุ่มคนที่ทำงานในออฟฟิศและมีลักษณะงานที่นั่งเป็นเวลานาน โดยเฉพาะอาการปวดหลังส่วนล่างซึ่งมักจะเป็นผลมาจากพฤติกรรมการนั่งที่ไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม อาการนี้มีชื่อเรียกเฉพาะว่า “Office Syndrome” ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยขึ้นในปัจจุบัน

ทำไม Office Syndrome ถึงพบมากในปัจจุบัน?

การทำงานในออฟฟิศที่นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานานๆ รวมถึงการใช้อุปกรณ์ไอที เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต มักเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานหรือกิจกรรมในชีวิตประจำวัน สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ผู้คนมีพฤติกรรมการนั่งที่ซ้ำซากและนานเกินไป โดยเฉพาะกลุ่มคนวัยทำงานที่ใช้เวลาส่วนใหญ่ของวันไปกับการนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ จึงทำให้เกิด Office Syndrome มากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับอดีต

นอกจากนี้ ออฟฟิศหลายแห่งในปัจจุบันยังขาดการออกแบบสถานที่ทำงานที่เหมาะสมกับสรีระของผู้ใช้ เช่น โต๊ะทำงานที่ไม่สามารถปรับระดับได้ เก้าอี้ที่ไม่ได้ออกแบบมาให้รองรับกับการนั่งเป็นเวลานาน และการไม่มีพื้นที่ให้เคลื่อนไหวระหว่างวัน สิ่งเหล่านี้รวมกันจึงทำให้ Office Syndrome โดยเฉพาะอาการปวดหลังเป็นปัญหาที่พบมากในปัจจุบันนั่นเองครับ

อาการปวดหลังส่วนล่างจาก Office Syndrome เป็นอย่างไร?

อาการปวดหลังส่วนล่าง จาก Office Syndrome มักเริ่มจากการรู้สึกไม่สบายตัวบริเวณหลังส่วนล่างเป็นระยะๆ จากการนั่งทำงานนานๆ และอาจมีอาการปวดที่เพิ่มขึ้นในเวลาที่นั่งท่าเดิมๆ เป็นเวลานาน อาการปวดนี้สามารถลามไปยังขาและสะโพกได้ในกรณีที่เกิดการกดทับเส้นประสาท หรือมีการบาดเจ็บบริเวณหมอนรองกระดูกสันหลังร่วมด้วย

สัญญาณที่บ่งบอกว่าอาจเกิดจาก Office Syndrome ได้แก่

  • ปวดหรือเมื่อยล้าในบริเวณหลังส่วนล่าง โดยเฉพาะเมื่อยืนหรือนั่งเป็นเวลานาน
  • รู้สึกตึงหรือเคล็ดที่หลังเมื่อเปลี่ยนท่าทาง
  • สูญเสียความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อหลัง(ลองยืนก้มตัวแตะปลายเท้าดู ถ้ามีอาการตึงๆ แสดงว่าใช่แล้วครับ)
  • มีอาการเจ็บปวดเมื่อพยายามเคลื่อนไหว เช่น ก้มตัวหรือยืดตัว

หากอาการปวดดังกล่าวยังคงดำเนินต่อไปเป็นเวลานานและไม่มีการรักษาหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ก็อาจทำให้เกิดปัญหาปวดหลังเรื้อรังตามมาได้

การรักษาอาการปวดหลังจาก Office Syndrome

การรักษาอาการ ปวดหลัง จาก Office Syndrome มีหลายวิธี โดยแบ่งได้เป็นการรักษาด้วยตัวเองและการรักษาโดยมืออาชีพ การรักษาแบบครบวงจรและต่อเนื่องมีส่วนช่วยให้ร่างกายฟื้นฟู และอาจลดโอกาสการกลับมามีอาการซ้ำอีก

การรักษาด้วยตัวเอง

  1. การจัดท่านั่งและสถานีทำงาน: การปรับเปลี่ยนท่านั่งและสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นวิธีการแรกที่ง่ายที่สุดที่เราสามารถทำได้ ท่านั่งที่ถูกต้องคือการให้หลังตั้งตรง ขาแตะพื้นทั้งสองข้าง โดยให้มุมระหว่างต้นขาและขาเป็นมุมฉาก ใช้เก้าอี้ที่สามารถรองรับหลังส่วนล่างได้ และปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตาเพื่อไม่ต้องก้มคอหรือยกคอมากเกินไป
  2. การเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ: ควรลุกขึ้นยืนหรือเดินเปลี่ยนท่าทางทุกๆ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง เพื่อให้กล้ามเนื้อหลังได้ผ่อนคลายจากการนั่งท่าเดิมเป็นเวลานาน นอกจากนี้การยืดเหยียดกล้ามเนื้อเบาๆ ทุกๆ ช่วงเวลาการทำงานยังช่วยลดอาการตึงหรือเคล็ดบริเวณหลังได้อีกด้วย

การทำกายภาพบำบัด

การทำกายภาพบำบัดเป็นอีกหนึ่งวิธีที่มีบทบาทสำคัญบรรเทาอาการปวดหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีหลากหลายวิธี ยกตัวอย่าง เช่น

  1. Ultrasound Therapy: การใช้คลื่นเสียงเพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อและลดการอักเสบ วิธีนี้ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดและซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ได้รับความเสียหายจากการใช้งานหนักหรือผิดวิธี
  2. Shockwave Therapy: เป็นการใช้คลื่นกระแทกเพื่อรักษาบริเวณที่กล้ามเนื้อตึงตัวหรือมีการกดทับ ช่วยลดความเจ็บปวดและเร่งกระบวนการฟื้นฟูของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
  3. PMS (Peripheral Magnetic Stimulation): การกระตุ้นด้วยสนามแม่เหล็ก ซึ่งช่วยลดอาการปวดและเพิ่มการฟื้นฟูของกล้ามเนื้อ วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรังหรือมีปัญหาเกี่ยวกับเส้นประสาท
  4. Exercise Therapy: การออกกำลังกายเฉพาะเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง และทำให้กล้ามเนื้อหลังมีความยืดหยุ่นขึ้น การออกกำลังกายเป็นประจำมีส่วนช่วยป้องกันการกลับมามีอาการปวดซ้ำได้ในอนาคต ตัวอย่างการออกกำลังกายที่แนะนำ เช่น การยืดเหยียดกล้ามเนื้อหลัง การฝึกโยคะเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ หรือการออกกำลังกายเบาๆ ที่ช่วยให้ร่างกายมีความผ่อนคลายมากขึ้น

**หากอาการปวดร้าวลงขา ควรปรึกษาแพทย์ และนักกายภาพบำบัด

การดูแลและรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างจาก Office Syndrome ไม่เพียงแค่ทำให้คุณสามารถกลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดอาการซ้ำได้ในอนาคตเช่นกัน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและท่านั่ง รวมถึงการออกกำลังกายและทำกายภาพบำบัดจะช่วยให้คุณหายจากอาการปวดได้ในระยะยาว

หากคุณมีอาการปวดหลังและต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม เราขอเชิญมาปรึกษาเรื่องอาการปวดหลังส่วนล่างจาก Office Syndrome ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายที่ คลินิกกายภาพบำบัด Zenista health and wellness สาขาชลบุรี และเพชรบุรี หรือสอบถามที่ Line :@zenista

บริการแนะนำ

กายภาพบำบัด,กายภาพบำบัด ชลบุรี, กายภาพบำบัด เพชรบุรี

กายภาพบำบัด

คลินิกกายภาพบำบัด ชลบุรี เพชรบุรี ZENISTA CLINIC

รักษาข้อเข่าเสื่อม,รักษาข้อเข่าเสื่อม ชลบุรี, รักษาข้อเข่าเสื่อม เพชรบุรี

รักษาข้อเข่าเสื่อม

คลินิกกายภาพบำบัด ชลบุรี เพชรบุรี ZENISTA CLINIC

รักษาออฟฟิศซินโดรม,รักษาออฟฟิศซินโดรม ชลบุรี, รักษาออฟฟิศซินโดรม เพชรบุรี

รักษาออฟฟิศซินโดรม

รักษาออฟฟิศซินโดรม อาการปวดหลังเรื้อรัง