
ภาวะข้อเข่าเสื่อมเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนที่ป้องกันการเสียดสีภายในข้อเข่า เมื่ออายุเพิ่มขึ้น กระดูกและข้อก็เสื่อมสภาพลงตามเวลา ทำให้ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเข่าเสื่อมมากกว่าคนในวัยอื่นๆ บทความนี้จะพาท่านมาทำความรู้จักกับข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ และแนวทางการดูแลรักษาที่เหมาะสมครับ
ปัจจัยเสี่ยงข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ?
ผู้สูงอายุมักมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดข้อเข่าเสื่อม เนื่องจากวัยสูงอายุ เป็นวัยที่พึ่งผ่านพ้นช่วงเวลาของการทำงานมาอย่างยาวนาน กระดูกอ่อนที่ปกป้องข้อเข่าเริ่มสึกหรอจากการใช้งานมาตลอดชีวิต เมื่อเวลาผ่านไป การที่ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักตัวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงกิจวัตรประจำวันที่ทำให้ข้อเข่าถูกใช้งานอย่างหนัก ส่งผลให้กระดูกอ่อนเสื่อมลง นอกจากนี้การเสื่อมสภาพของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่ช่วยพยุงข้อเข่าในวัยสูงอายุยังมีส่วนทำให้ข้อเข่าทำงานได้ไม่ดีเช่นเดิมอีกด้วย
และสิ่งที่ควรใส่ใจคือผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมมีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากข้อเข่าที่เสื่อมส่งผลต่อการทรงตัว การพลัดตกหกล้มอาจนำไปสู่การบาดเจ็บที่รุนแรงได้
ผู้สูงอายุที่เป็นข้อเข่าเสื่อมต้องระวังเรื่องอะไรบ้าง?
- การยืนหรือเดินในพื้นที่ไม่เสถียรพื้นผิวที่ไม่เรียบหรือมีความลาดเอียงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการล้ม เนื่องจากการทรงตัวในผู้สูงอายุทำได้ไม่ดีเท่ากับช่วงอายุอื่นๆ
- การยกของหนักควรหลีกเลี่ยงการยกของหนักที่อาจทำให้ข้อเข่ารับน้ำหนักเกินไป
- การขึ้นลงบันไดควรใช้ราวบันไดช่วยในการทรงตัว หรือหลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันไดบ่อยครั้ง
- การนั่งหรือลุกจากเก้าอี้ที่ต่ำเก้าอี้ที่ต่ำทำให้การลุกขึ้นยืนยากและเพิ่มแรงกดบนข้อเข่า องศาการงอเข่าขณะนั่งเก้าอี้ที่ดีควรอยู่ในลักษณะ 90 องศาเพื่อความคล่องตัวและลดการออกแรงขณะลุกยืน
- การออกกำลังกายหนักเกินไป
การออกกำลังกายที่เกินกำลัง และไม่เหมาะสมจะทำให้ข้อเข่าเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
- การปวดข้อเข่าทำให้การเคลื่อนไหวจำกัด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และอาจทำให้ต้องพึ่งพาผู้อื่นในการดูแล
- กล้ามเนื้อลีบการใช้ข้อเข่าน้อยลงจะทำให้กล้ามเนื้อรอบข้อเข่าอ่อนแอลง
- เพิ่มความเสี่ยงต่อการล้มเมื่อข้อเข่าไม่สามารถรับน้ำหนักได้ดี การทรงตัวก็จะมีปัญหา และเพิ่มความเสี่ยงต่อการล้ม
- เกิดภาวะซึมเศร้าความเจ็บปวดและข้อจำกัดในการทำกิจกรรมประจำวันอาจส่งผลกระทบต่อจิตใจ ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
- ความเสี่ยงต่อการเกิดข้อเข่าอักเสบเรื้อรัง
หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ข้อเข่าอาจเกิดการอักเสบเรื้อรัง ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม
ข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุรักษาอย่างไร?
การรักษาข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุสามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามระดับความรุนแรงของโรค:
- การรักษาแบบประคับประคองใช้ยาแก้ปวดหรือยาลดอักเสบเพื่อลดอาการปวดและอักเสบในข้อเข่า
- การทำกายภาพบำบัดช่วยเสริมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อรอบข้อเข่า ทำให้ข้อเข่ามีความมั่นคงมากขึ้น ลดการเสื่อมและการปวด
- การฉีด PRP (Platelet-Rich Plasma) ใช้เกล็ดเลือดเข้มข้นจากเลือดของผู้ป่วยเองเพื่อช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่สึกหรอในข้อเข่า
- การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า
ในกรณีที่ข้อเข่าเสื่อมอย่างรุนแรงจนไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ได้ ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเพื่อฟื้นฟูความสามารถในการเคลื่อนไหว
ผลเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการไม่รักษาข้อเข่าเสื่อม?
หากไม่ได้รับการรักษาข้อเข่าเสื่อมจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่ตามมาได้ เช่น
- ปวดเข่ามากขึ้นอาการปวดจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ
- ข้อเข่าฝืดเคลื่อนไหวยากการขยับข้อเข่าจะเริ่มยากลำบากมากขึ้น จนทำให้ไม่สามารถเดินหรือยืนได้อย่างสะดวก
- ข้อเข่าอักเสบเรื้อรังการเสื่อมสภาพของข้อเข่าที่ไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง
- การเคลื่อนไหวจำกัดเมื่อข้อเข่าไม่สามารถทำงานได้ ผู้ป่วยจะต้องพึ่งพาผู้อื่นในการเคลื่อนไหว เช่น การใช้รถเข็น การเดินด้วยไม้เท้าชนิดต่างๆ
- ติดเตียงหากไม่ได้รับการรักษาในระยะที่รุนแรง ผู้ป่วยอาจไม่สามารถลุกขึ้นยืนหรือเดินได้ ต้องติดเตียงและเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
- เสี่ยงเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อน
อาจเกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพที่รุนแรงขึ้น เนื่องจากการติดเตียงอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพต่างๆ เช่น แผลกดทับ การติดเชื้อ หรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวม
สรุป
อย่างไรก็ตาม ข้อเข่าเสื่อมสามารถดูแลและประคับประคองอาการได้ ด้วยแนวทางการรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงที ก็จะช่วยให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ ที่คลินิกกายภาพบำบัด Zenista Health and Wellness เรามีบริการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมโดยทีมแพทย์เฉพาะทาง และนักกายภาพบำบัดที่มีประสบการณ์สูง ท่านสามารถเข้ามารับคำปรึกษาฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Line ID: @zenista