การเตรียมตัวสำหรับการฉีด PRP ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม
การฉีด PRP เป็นวิธีการรักษาหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการรักษาอาการของโรคข้อเข่าเสื่อม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นวิธีที่จะเข้ารับการฉีดได้ทุกคนครับ เนื่องจากว่า ในแต่ละคน แต่ละอาการก็มีความเหมาะสมในการเลือกวิธีการรักษาแตกต่างกันออกไป และในการฉีด PRP ในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมนั้นก็มีขั้นตอนต่าง ๆ ที่พึงปฎิบัติเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด และปลอดภัยที่สุดในการฉีด PRP และข้อที่พึงปฏิบัตินั่นมีอะไรบ้าง ติดตามได้ในบทความนี้เลยครับ
การเตรียมตัวสำหรับการฉีด PRP ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม
1. การพิจารณาเพื่อเข้ารับการรักษาด้วยการฉีด PRP ในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม
- การฉีด PRP มักใช้สำหรับโรคข้อเข่าเสื่อมเล็กน้อยถึงปานกลาง การคัดเลือกผู้ป่วยควรขึ้นอยู่กับการประเมินประวัติทางการแพทย์ การตรวจร่างกาย ผลการตรวจด้วยภาพ และประวัติสุขภาพโดยรวมอย่างละเอียด
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมขั้นรุนแรงอาจไม่สามารถรักษาได้ด้วยการทำ PRP และอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีอื่นที่จะพิจารณาเป็นรายบุคคลไปครับ
2. การทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้ป่วยและผู้ให้การรักษาด้วยการฉีด PRP
- ก่อนการฉีด PRP ผู้ป่วยควรได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วนเกี่ยวกับขั้นตอนการฉีด PRP ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งระหว่างฉีด และหลังฉีด ประโยชน์ของการรักษาด้วย PRP และทางเลือกอื่น ๆ ในการรักษา
- ผู้ให้การรักษาจะต้องแนะนำถึงประสิทธิภาพของการการฉีด PRP อย่างตรงไปตรงมา และชัดเจน การฉีด PRP เนื่องจากการรักษาแต่ละวิธีมีความเหมาะสมแตกต่างกันออกไปแต่ละเคส
3. การประเมินทางการแพทย์
- ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจประเมินทางการแพทย์ที่ครอบคลุมเพื่อทราบถึงอาการ สาเหตุ และข้อจำกัดใด ๆ ที่อาจขัดขวางหรือจำเป็นต้องมีข้อควรระวังพิเศษสำหรับการฉีด PRP
- ข้อจำกัดต่าง ๆ เช่น ความผิดปกติของเลือด ภาวะเลือดหยุดไหลยาก การติดเชื้อที่ยังดำเนินอยู่ มะเร็ง โรคแพ้ภูมิตัวเอง และยาบางชนิดอาจส่งผลต่อความเหมาะสมหรือความปลอดภัยของการฉีด PRP
4. การเตรียมก่อนการฉีด
- ควรทำร่างกายให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำเยอะ ๆ ก่อนการฉีด PRP
- หากผู้ป่วยใช้ยาใดเป็นประจำควรแจ้งแพทย์ เช่น แอสไพรินหรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด แพทย์อาจจำเป็นต้องให้ปรับหรือหยุดยาชั่วคราวเพื่อลดความเสี่ยงของการมีเลือดออกมากเกินไประหว่างฉีด และหลังฉีด
5 . เทคนิคการฉีด
- การฉีดควรทำโดยผู้ที่มีประสบการณ์การทำ PRP ที่ได้รับการฝึกอบรม เช่น แพทย์หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
- ขั้นตอนการฉีด PRP ควรทำโดยเทคนิคที่ปลอดเชื้อเพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นได้
6. การดูแลหลังการฉีด
- ผู้ป่วยอาจมีอาการปวด บวม หรือไม่สบายเล็กน้อยบริเวณที่ฉีด ซึ่งมักจะหายไปภายใน 2-3 วันหลังฉีด
- ควรออกกำลังกายเพื่อบริหารเข่า และงดการใช้งานเข่าหนัก ๆ ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ
- มาพบแพทย์เพื่อประเมิน ติดตามผลการตอบสนองต่อการรักษาโดยการฉีด PRP ของผู้ป่วย
ฉีด PRP รักษาข้อเข่าเสื่อมที่ Zenista ดีอย่างไร
ที่ Zenista ให้บริการการฉีด PRP เพื่อรักษาอาการข้อเข่าเสื่อม โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกระดูกและกล้ามเนื้อ(คุณหมอออโธ) ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่าการฉีด PRP จะเกิดภาวะแทรกซ้อน และเกิดความเสี่ยงได้น้อยลง และเกิดประสิทธิภาพในการรักษา
หากท่านใดที่มีความสนใจเกี่ยวกับการฉีด PRP เพื่อรักษาอาการข้อเข่าเสื่อม หรือมีข้อสงสัย ต้องการสอบถาม หรือนัดหมายเพื่อเข้ามารับบริการ สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่ Line id : @zenista