โรคข้อเข่าเสื่อม (OA Knee) เป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนนับล้านทั่วโลก ทำให้เกิดอาการปวด อาการตึง และความคล่องตัวลดลงครับ ดังนั้นการบำบัดด้วยการฉีด PRP จึงกลายเป็นทางเลือกในการรักษาที่ดีทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ทำไมการฉีด PRP เป็นวิธีที่ดี ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลยครับ
การฉีด PRP คืออะไร?
PRP คือการใช้เกล็ดเลือดเข้มข้นที่ได้มาจากการนำเลือดของผู้ป่วยเองมาปั่นสกัด และนำมารักษาข้อเข่าที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการสร้างเนื้อเยื่อใหม่และลดการอักเสบ
หลังจากเข้ารับการบำบัดด้วย PRP แล้ว ผู้ป่วยจะต้องได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและอำนวยความสะดวกในกระบวนการบำบัดครับ
การดูแลหลังการรักษาด้วยการฉีด PRP ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม
1. การดูแลหลังการรักษาทันที
หลังการรักษาด้วย PRP ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำเพื่อให้มั่นใจว่าจะฟื้นตัวได้ดีที่สุด โดยมีคำแนะนำดังนี้ครับ
- การพักผ่อน: หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องรับน้ำหนักมากเกินไปในช่วง 2-3 วันแรกหลังการรักษาด้วย PRP
- การประคบน้ำแข็ง: การประคบน้ำแข็งที่หัวเข่าที่รักษาด้วย PRP สามารถช่วยลดอาการบวมและไม่สบายบริเวณเข่าได้ โดยใช้ผ้าเช็ดตัวชุบน้ำหมาด ๆ ห่อ ถุงน้ำแข็งประคบ 15-20 นาที ก็จะช่วยลดอาการบวมได้ครับ
- การใช้ยา: ตามคำแนะนำของแพทย์ ผู้ป่วยอาจได้รับยาแก้ปวดหรือยาต้านการอักเสบเพื่อลดอาการปวดหรืออักเสบหลังฉีด
2. การฟื้นฟูสมรรถภาพและกายภาพบำบัด
หลังการรักษาด้วย PRP ก็จะต้องมีการฟื้นฟูสมรรถภาพของข้อเข่าน่วมด้วยโดยการทำกายภาพบำบัดเพื่อให้ข้อเข่ากลับมาใช้งานได้ดีใกล้เคียงเดิมมากที่สุดครับ
- การฟื้นฟูการเคลื่อนไหว: การทำกายภาพบำบัด เช่น การยืดกล้ามเนื้อเบา ๆ และการส่งเสริมการเคลื่อนไหวข้อต่อ สามารถช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและลดอาการตึงรอบข้อเข่าได้
- การเสริมสร้างความเข้มแข็ง: การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า มีความจำเป็นสำหรับการเพิ่มความมั่นคงของข้อเข่า และลดโอกาสการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
- การฝึกการทรงตัว: การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความมั่นของการทรงตัว จะช่วยเพิ่มการประสานสัมพันธ์และป้องกันการหกล้ม ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม
3. การปรับเปลี่ยนกิจกรรม
เพื่อปกป้องข้อเข่าที่ได้รับการรักษาและส่งเสริมการรักษา ผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนกิจกรรม และรูปแบบการดำเนินชีวิตของตนเองร่วมด้วยครับ เช่น
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีแรงกระแทกสูง: ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมต่างๆ เช่น การวิ่ง การกระโดด หรือเล่นกีฬาที่มีการปะทะ เพื่อป้องกันแรงที่ส่งผลกระทบที่มากเกินไปต่อข้อเข่า
- การออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่ำ: สามารถออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่ำได้ เช่น ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน หรือการเดินเพื่อช่วยรักษาสมรรถภาพของหัวใจและหลอดเลือดโดยไม่ทำให้เข่าได้รับผลกระทบมากเกินไป
- การควบคุมน้ำหนัก: การควบคุมน้ำหนักเป็นสิ่งสำคัญในการลดภาระที่ข้อเข่าและชะลอความเสื่อมของโรคข้อเข่าเสื่อม
4. การดูแลติดตามผล
การนัดหมายติดตามผลกับแพทย์ผู้รักษาเป็นประจำมีความจำเป็นเพื่อประเมินความคืบหน้าของการรักษาด้วย PRP และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่จำเป็น
- การตรวจร่างกาย: แพทย์จะประเมินระยะการเคลื่อนไหว ความมั่นคง และการทำงานโดยรวมของข้อเข่า
- การทดสอบด้วยภาพ: การเอ็กซเรย์หรือสแกน MRI เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในข้อเข่า และติดตามการลุกลามของโรคข้อเข่าเสื่อม
- การฉีดซ้ำ: ในบางกรณี ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องฉีด PRP ซ้ำเพื่อรักษาผลการรักษาที่ต้องการ
โรคข้อเข่าเสื่อมส่งผลกระทบต่อผู้คนนับล้านทั่วโลก การรักษาด้วยการฉีด PRP เป็นทางเลือกที่ดี เนื่องจากช่วยส่งเสริมการสร้างเนื้อเยื่อใหม่และลดการอักเสบ แต่หลังจากการรักษาแล้ว ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของข้อเข่าให้กลับมาใช้งานได้ดีใกล้เคียงเดิมมากที่สุด โดยการพักผ่อน การประคบน้ำแข็ง การใช้ยา และการทำกายภาพบำบัด เช่น การยืดกล้ามเนื้อ การเสริมสร้างความเข้มแข็ง การฝึกการทรงตัว นอกจากนี้ควรปรับเปลี่ยนกิจกรรมเพื่อลดแรงกระแทกที่ข้อเข่า และควบคุมน้ำหนักเพื่อช่วยลดภาระที่ข้อเข่า และยังควรมีการติดตามผลกับแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อประเมินความคืบหน้าและปรับเปลี่ยนการรักษาให้เหมาะสม
หากท่านกำลังมองหาคลินิกรักษาข้อเข่าเสื่อม และสนใจการฉีด PRP สามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัด Zenista Health and Wellness สาขาชลบุรี” และ “คลินิกกายภาพบำบัด Zenista Health and Wellness สาขาเพชรบุรี” ทั้งสองสาขา หรือสอบถามเพิ่มเติม/ต้องการนัดหมายล่วงหน้า ได้ที่ Line : @zenista