กล้ามเนื้อต้นขาตึง ส่งผลอย่างไรต่อเข่าบ้าง

กล้ามเนื้อต้นขาตึง ส่งผลอย่างไรต่อเข่าบ้าง

 

สวัสดีทุกท่านครับ เข่าเป็นส่วนที่สำคัญมากต่อการใช้ชีวิต หากเข่าไม่ดี ชีวิตก็แย่ตามไปด้วย เพราะฉะนั้นต้องดูแลเข่าให้อยู่กับเราไปได้นานๆดีที่สุดครับ แต่หากพูดถึงการบาดเจ็บของข้อเข่า เราก็จะโฟกัสไปที่อาการปวดหรือเจ็บที่หัวเข่าโดยตรงเลย แต่ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่ทราบคืออาการบาดเจ็บหรืออาการตึงของกล้ามเนื้อบริเวณต้นขาก็ส่งผลเสียต่อเข่าได้ไม่น้อย ดังนั้นวันนี้เราจะพูดถึงอาการตึงๆบริเวณต้นขากันครับ

 

ในบทความก่อนๆได้กล่าวถึงเรื่องของกล้ามเนื้อรอบต้นขากันไปแล้ว แต่เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น เราจะมาพูดถึงเรื่องกล้ามเนื้อรอบต้นขากันอีกครั้งนะครับ รอบต้นขาเราถ้าเราลองมองเป็นด้านๆไป แล้วแบ่งกลุ่ม ก็จะได้กล้ามเนื้อ 4 กลุ่ม คือ

 

1. กล้ามเนื้อต้นขาทางด้านหน้า

    ทำหน้าที่…

        - งอสะโพกมาทางด้านหน้า(hip flexion)

        - เตะเข่าไปทางด้านหน้า(knee extension)

2. กล้ามเนื้อต้นขาทางด้านหลัง

    ทำหน้าที่…

        - เหยียดสะโพกไปทางด้านหลัง(hip extension)

        - งอเข่า(knee extension)

3. กล้ามเนื้อต้นขาทางด้านใน

    ทำหน้าที่…

        - หุบขาเข้าด้านใน(hip adduction)

        - งอเข่าพร้อมกับหมุนเข่าเข้าด้านใน(knee flexion with internal rotation

        - ป้องกันไม่ให้เข่าบิดออกทางด้านนอกมากเกินจนบาดเจ็บ

4. กล้ามเนื้อต้นขาทางด้านนอก

    ทำหน้าที่…

        - เสริมความมั่นคงของเข่าทางด้านนอก(knee stabilization)

 

นี่คือการแบ่งกลุ่มและหน้าที่คร่าวๆของกล้ามเนื้อแต่ละกลุ่มครับ ที่นี้ถ้าท่านพอจะเห็นภาพแล้วว่าแบ่งอย่างไรหน้าที่คืออะไร เรามาเจาะลงไปเป็นกลุ่มๆกันว่าหากกล้ามเนื้อต้นขามีอาการตึงหรือบาดเจ็บจะส่งผลอย่างไรต่อเข่าบ้าง

 

เริ่ม….

กล้ามเนื้อต้นขาทางด้านหน้ามีจุดเกาะจากสะโพกทางด้านหน้าลงมาถึงเข่า พาดเหนือลูกสะบ้าแล้วลงมาเกาะที่กระดูกtibia ของขาส่วนล่าง เรามาทำความเข้าใจกันอีกนิดครับ ช่วงบริเวณส่วนปลายๆของกระดูกส่วนใหญ่ในร่างกายมักจะมีปุ่มนูนออกมาเพื่อเป็นจุดเกาะและเสริมความแข็งแรงของโครงสร้าง ดังนั้นเมื่อมีกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือโครงสร้างอื่นๆทอดผ่านก็อาจทำให้เกิดการเสียดสีได้ และกล้ามเนื้อต้นขาทางด้านหน้าก็เข้าคอนเซปท์นี้พอดีครับ คือมีแผ่นเอ็นของกลุ่มกล้ามเนื้อต้นขาทางด้านหน้าพาดผ่านส่วนปลายของกระดูกต้นขา แต่บังเอิญว่าใต้แผ่นเอ็นนี้มีลูกสะบ้าอยู่ข้างล่าง หากกล้ามเนื้อต้นขาทางด้านหน้ามีอาการตึงที่มากเกินไป หรือบาดเจ็บจนกล้ามเนื้อเกร็ง ส่งผลให้ลูกสะบ้ามีโอกาสที่จะเสียดสีกับผิวข้อเข่าได้มากขึ้นและเกิดเป็นอาการบาดเจ็บที่ข้อเข่าทางด้านหน้าได้ในที่สุด

 

ต่อมา....

เรามาดูกลุ่มกล้ามเนื้อต้นขาทางด้านหลังกันครับ กลุ่มกล้ามเนื้อนี้ส่วนมากจะเกาะที่ส่วนของกระดูกเชิงกรานที่มีชื่อว่า ischial tuberosity ทอดตัวยาวลงไปเกาะที่ปุ่มกระดูก medial condyle และ lateral condyle ของกระดูก tibia จากทางด้านหลัง ซึ่งเป็นส่วนของขาท่อนล่าง แต่เนื่องจากจุดเกาะของเอ็นไปเกาะกับปุ่มกระดูกของกระดูก tibia ทางด้านหลัง ประกอบกับเข่าไม่สามารถเหยียดได้มากกว่า 180 องศา ดังนั้นจึงเกิดการเสียดสีได้น้อย แต่ก็ใช่ว่าจะเกิดการบาดเจ็บไม่ได้นะครับ ในกรณีที่กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังตึงถึงจุดหนึ่ง หรือตึงมานานแล้ว เข่าจะเกิดอาการงอเล็กน้อย(slightly knee flexion)เนื่องจากเข่าถูกดึงให้อยู่ในท่างอตลอดเวลา และเข่าที่งอตลอดเวลานี้ทำให้ท่าทางในชีวิตประจำวันเปลี่ยนไปเช่น ปวดหลังง่ายขึ้น เป็นต้น

 

ถัดไป....

ดับถัดมาจะพูดถึงกล้ามเนื้อต้นขาทางด้านในกล้ามเนื้อนี้จะเกาะจาก ischial tuberosity คล้ายๆกลับกล้ามเนื้อกลุ่มต้นขาทางด้านหลังทอดตัวลงมาด้านล่างไปเกาะจุดจุดหนึ่งที่เรียกว่า pes anserinus ที่เป็นส่วนหนึ่งของกระดูก tibia เหนือจุดเกาะนี้มีจุดคั่นกลางระหว่างจุดเกาะของกล้ามเนื้อและเอ็นกล้ามเนื้อคือถุงน้ำชื่อว่า pes anserinus bursa ในกรณีที่มีการตึงของกล้ามเนื้อต้นขาทางด้านในจะเกิดการเสียดสีมากขึ้นจนเกิดอาการเจ็บบริเวณเข่าทางด้านในจากถุงน้ำอักเสบ ในกรณีที่มีอาการตึงมากๆเข่าจะถูกดึงเข้าด้านในเกิดเป็นความผิดปกติของเข่าที่เรียกว่าknock knee คือ เข่าเบนเข่าทางด้านในดังรูป เมื่อเกิดการเบนเข้าด้านในเอ็นต่างๆที่ยึดระหว่างกระดูกกับกระดูกก็จะถูกยืดออกจากกันจนบาดเจ็บได้ง่ายมากขึ้น มีภาวะเข่าไม่มั่นคงตามมาในระยะยาว

 

สุดท้าย....

มาถึงกล้ามเนื้อต้นขาทางด้านนอกกันแล้วครับ จริงๆแล้วทางด้านนอกของเข่าส่วนใหญ่จะเป็นเอ็นกล้ามเนื้อลักษณะเป็นแผ่นๆเรียกว่า iliotibial band ที่ทำหน้าที่ในการเสริมความมั่นคงของเข่า กล้ามเนื้อที่เชื่อมกับแผ่นเอ็นนี้คือ กล้ามเนื้อgluteus maximus muscle, gluteus minimus muscle, และtensor fasciae latae muscle หาก 3 มัดนี้มีอาการบาดเจ็บหรือตึงจะดึงให้ iliotibial band ตึงไปด้วย ทำให้เกิดการบาดเจ็บที่เข่าทางด้านนอกได้

 

สรุปสั้นๆคือกล้ามเนื้อที่มีอาการตึง เมื่อไม่ได้รักษาจะมีอาการตึงมากขึ้นเรื่อยๆจนส่งผลต่อโครงสร้างที่กล้ามเนื้อเกาะผ่าน ในบทความนี้คือข้อเข่านั่นเองครับ หากกล้ามเนื้อมีความสมดุลย์ระหว่างความยืดหยุ่นและความแข็งแรงก็จะส่งผลดีต่อร่างกายในหลายๆด้าน และหากท่านกังวลหรือไม่รู้ว่าอาการตึงของท่านจะส่งผลต่อร่างกายอย่างไรต้องรักษาแบบไหน ท่านสามารถเข้ามาปรึกษาได้แบบไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัด Zenista Health and Wellness คลินิกกายภาพบำบัดชลบุรี คลินิกกายภาพบำบัดเพชรบุรี สะดวกสาขาไหนเชิญได้เลยครับ เราคือมืออาชีพด้านกายภาพบำบัด ที่ให้บริการอย่างมืออาชีพโดยทีมแพทย์และนักกายภาพผู้มากประสบการณ์ครับ 

บริการแนะนำ

กายภาพบำบัด,กายภาพบำบัด ชลบุรี, กายภาพบำบัด เพชรบุรี

กายภาพบำบัด

คลินิกกายภาพบำบัด ชลบุรี เพชรบุรี ZENISTA CLINIC

รักษาข้อเข่าเสื่อม,รักษาข้อเข่าเสื่อม ชลบุรี, รักษาข้อเข่าเสื่อม เพชรบุรี

รักษาข้อเข่าเสื่อม

คลินิกกายภาพบำบัด ชลบุรี เพชรบุรี ZENISTA CLINIC

รักษาออฟฟิศซินโดรม,รักษาออฟฟิศซินโดรม ชลบุรี, รักษาออฟฟิศซินโดรม เพชรบุรี

รักษาออฟฟิศซินโดรม

รักษาออฟฟิศซินโดรม อาการปวดหลังเรื้อรัง